สงครามครูเสด (Crusade War) มหาสงครามแห่งศาสนาที่โลกไม่รู้ลืม
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  
 

ซาลาดิน หรือ ศอลาฮุดดีน

ศอลาฮุดดีน อัลอัยยูบีย์ หรือที่ชาวตะวันตกเรียกกันติดปากว่า ซาลาดิน มีชื่อภาษาอาหรับเต็มว่า ศอลาฮุดดีน ยูซุฟ อิบนุอัยยูบ บางครั้งก็ถูกเรียกว่า อัลมาลิก อัลนาศิร ศอลาฮุดดีน ยูซุฟ

เขาเกิดเมื่อ ค.ศ.1137 ในตำบลติกรีต (ปัจจุบันอยู่ในอิรัก) และเสียชีวิตในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1193 ที่เมืองดามัสคัส เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ปกครองมุสลิมผู้มีชื่อเสียงที่สุดและเป็นสุลต่านมุสลิมผู้ปกครองอียิปต์ ซีเรีย เยเมนและปาเลสไตน์และเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์อัยยูบีย์ ในสงครามต่อต้านการรุกรานของพวกครูเสด ศอลาฮุดดีนประสบความสำเร็จในขั้นสุดท้ายด้วยการยึดเมืองเยรูซาเล็มกลับคืนมาได้ในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1187 ซึ่งทำให้การยึดครองของพวกแฟรงค์เป็นเวลา 88 ปีต้องสิ้นสุดลง

ศอลาฮุดดีนเกิดในครอบครัวชาวเคิร์ด ในคืนที่เขาเกิด นัจญ์มุดดีน อัยยูบ พ่อของเขาได้รวมคนในครอบครัวเดินทางไปยังเมืองอาเล็ปโปเพื่อไปรับใช้อิมาดุดดีน ซางกี ผู้ปกครองชาวเติร์กที่มีอำนาจในซีเรียตอนเหนือ เขาเติบโตในเมืองบะอัลบักและดามัสคัส แต่ในตอนเริ่มแรกนั้นศอลาฮุดดีนให้ความสนใจในเรื่องของศาสนามากกว่าการฝึกฝนทางทหาร เขาเริ่มต้นอาชีพอย่างเป็นทางการเมื่อได้เข้าไปเป็นเจ้าหน้าที่ของ อะซัดดุดดีน ชิรกูห์ ลุงของเขาซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารคนสำคัญของเจ้าชายนูรุดดีนลูกชายและทายาทผู้สืบอำนาจต่อจากซางกี ศอลาฮุดดีนได้ประสบการณ์ในการรบระหว่างการเดินทางออกศึกสามครั้งยังอียิปต์ภายใต้การนำของชิรกูห์เพื่อป้องกันการรุกรานของพวกครูเสด

เขาจึงมีนโยบายส่งเสริมให้มีการเติบโตและแพร่ขยายสถาบันต่าง ๆ ของมุสลิม เขาให้การอุปการะนักวิชาการและนักเผยแผ่คำสอนอิสลาม ก่อตั้งวิทยาลัยและมัสญิดสำหรับคนเหล่านั้นและแนะนำให้บรรดานักวิชาการเขียนงานวิชาการออกมาโดยเฉพาะเรื่องการญิฮาด ฟื้นฟูขวัญกำลังใจและสร้างความเชื่อมั่นให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน

ศอลาฮุดดีนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนดุลอำนาจทางทหารให้เขาเป็นฝ่ายได้เปรียบ โดยการที่เขาสามารถรวบรวมและจัดระเบียบกองกำลังที่ไร้ระเบียบวินัยมากกว่าการที่จะใช้เทคนิคใหม่ ๆ ทางทหาร ในที่สุด เมื่อกำลังทหารของเขาพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับกองทัพครูเสดได้ ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1187 ศอลาฮุดดีนก็สามารถทำลายกองทัพของพวกครูเสดได้ที่ฮัตตีนใกล้กับทะเลสาบไทเบเรียในปาเลสไตน์ตอนเหนือ

สงครามครั้งนั้นสร้างความเสียหายให้แก่พวกครูเสดอย่างหนัก จนกองทัพมุสลิมสามารถเข้ายึดอาณาจักรแห่งเยรูซาเล็มได้เกือบทั้งหมด เมืองอัคเร, โตรอน, เบรุต, ไซดอน, นาซาเร็ธ, ซีซาเรีย นะบลุส, ญัฟฟาและอัสคาลอนได้ตกเป็นของมุสลิมภายในสามเดือน

วันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1187 ศอลาฮุดดีนสร้างความเสียหายอย่างหนักให้แก่พวกครูเสด เมื่อเมืองเยรูซาเล็มซึ่งเป็นเมืองสำคัญต่อทั้งมุสลิมและคริสเตียนได้ยอมจำนนต่อกองทัพของเขา หลังจากที่ตกอยู่ในมือของพวกแฟรงค์มาเป็นเวลา 88 ปี ชาวเมืองเยรูซาเล็มได้รับการปฏิบัติจากกองทัพของศอลาฮุดดีนอย่างดีและมีอารยธรรม ผิดกับเมื่อตอนที่พวกแฟรงค์เข้ามายึดครองซึ่งทำให้ชาวเมืองต้องถูกสังหารหมู่อย่างเหี้ยมโหดทารุณนับหมื่น ๆ คน

หลังจากที่กรำศึกมาเป็นเวลานาน ในที่สุด ศอลาฮุดดีนก็มาถึงจุดสุดท้ายของชีวิต ในขณะที่ญาติพี่น้องของเขากำลังแย่งส่วนต่าง ๆ ของอาณาจักรกันอยู่นั้น เพื่อนของเขาก็พบว่า ผู้ปกครองที่เป็นนักรบอัจฉริยะและมีคุณธรรมในโลกมุสลิมผู้นี้ไม่ได้ทิ้งเงินทองไว้มากมายพอที่จะทำหลุมฝังศพให้สมศักดิ์ศรีได้ หลังจากนั้น ครอบครัวของศอลาฮุดดีนก็ยังปกครองอียิปต์และแผ่นดินใกล้เคียงต่อไปอีกไม่นานและในที่สุดก็ถูกพวกมัมลูกเข้ามายึดอำนาจต่อใน ค.ศ. 1250

 

สมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ

 

ริชาร์ดใจสิงห์เป็นโอรสอย่างถูกต้องตามกฎหมายองค์ที่สามของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษดังนั้นจึงไม่เคยคิดเลยว่าจะได้ขึ้นครองบัลลังก์ พระองค์ทรงเป็นโอรสคนโปรดของพระมารดา คือพระนางเอเลเนอร์แห่งอากีแตน ผู้มีเชื้อสายฝรั่งเศสและเป็นหนึ่งในสตรีผู้มั่งคั่งที่สุดในยุโรปสมัยยุคกลาง ริชาร์ดเป็นโอรสองค์เล็กร่วมพระมารดาเดียวกันกับมารี เดอ ชองปาญจ์ และ อเล็กซิส แห่งฝรั่งเศส อีกทั้งยังเป็นพระอนุชาของวิลเลียม เค้าท์แห่งปัวติเยร์ เฮนรียุวกษัตริย์ และ มาทิลดา แห่งอังกฤษ เป็นพระเชษฐาของจอฟฟรีที่ 2 ดยุคแห่งบริททานี เลโอนอรา แห่งอากิเตน โจอาน ปลองตานเนต์ และ จอห์น แห่งอังกฤษ

แม้ว่าจะประสูติที่พระราชวังโบมอนต์ เมืองออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ไม่นานต่อมา พระองค์ได้ถือเอาฝรั่งเศสเป็นประเทศบ้านเกิด เมื่อพระมารดาและพระบิดาแยกทางกันอย่างเป็นทางการ พระองค์ได้อยู่ในการดูแลของพระมารดา และได้รับการแต่งตั้งจากพระนางให้เป็นดัชชีแห่งแคว้นอากิเตนในปีค.ศ. 1168 และแห่งแคว้นปัวติเยร์ในปีค.ศ. 1172 อันเป็นรางวัลปลอบใจให้เนื่องจากเฮนรียุวกษัตริย์พระเชษฐาได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฏราชกุมารในระยะเวลาพร้อมๆกัน ริชาร์ดและจอฟฟรีที่ 2 ดยุคแห่งบริททานี พระเชษฐาได้เรียนรู้ที่จะปกป้องมรดกของตนเองตั้งแต่วัยรุ่น พระองค์เป็นผู้มีการศึกษาดี สามารถแห่งบทกวีเป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาโปรว็องซ์ พระองค์ยังทรงมีรูปร่างหน้าตาดี ผมสีทอง ตาสีฟ้า สูงประมาณหกฟุตสี่นิ้ว (193 เซนติเมตร) โดดเด่นในกิจกรรมทางการทหาร และความสามารถทางการเมืองและการทหารต้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ได้รับการยกย่องว่ากล้าหาญและเด็ดเดี่ยว และสามารถควบคุมบุคคลชั้นสูงที่ไม่มีผู้ปกครองได้ในเวลาอันรวดเร็ว เช่นเดียวกับโอรสอีกสองพระองค์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ ริชาร์ดไม่ค่อยนับถือพระบิดาเท่าใดนัก อีกทั้งยังขาดวิสัยทัศน์ และความรับผิดชอบ

ในปีค.ศ. 1170 เฮนรียุวกษัตริย์ ได้ขึ้นครองราชบังลังก์อังกฤษและทรงพระนามว่าพระเจ้าเฮนรีที่ 3 นักประวัติศาสตร์จะเรียกพระองค์ว่า "เฮนรียุวกษัตริย์" เพื่อไม่ให้สับสนกับกษัตริย์องค์ต่อมาที่เป็นหลานของพระองค์และทรงพระนามว่าเฮนรีเช่นกัน

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 59,212 Today: 12 PageView/Month: 26

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...